วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

Project 5 : Diptych

Project 5 : Diptych

          ได้รับมอบหมายงานในหัวข้อ To change photograph โดยนำเสนองานผ่านเทคนิค “Diptych” จึงเกิดข้อสงสัยว่า ภาพแบบ Diptych คืออะไร ???????



จึงได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลว่า
        Diptych คือ การนำภาพสองภาพมาเชื่อมต่อกัน ด้วยมุมกล้องแบบต่างๆ มีการซูมเข้า ซูมออก เป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน แต่ละมุมมอง เมื่อมองแล้วให้ทราบได้ว่าภาพสองภาพนั้นเป็นภาพที่สื่อถึงซึ่งกันและกัน หรือให้แนวคิดที่แตกต่างกันได้

ตัวอย่างภาพ
                                        

                                         
              
                                          

                                                         

ขั้นตอนการทำงาน




            แล้วกลุ่มของพวกเราจึงเริ่มหาสถานที่ในการถ่ายภาพ เพื่อให้ตรงกับ Concept ของ Diptych ทันที 

ภาพที่ 1
                           


ผลงานของ   นางสาวฉัตรฑริกา เวชคง (แนนนี่) ผลงานของข้าพเจ้าเอง
มีแนวคิดที่ว่า......จุดเชื่อมต่อที่แตกต่าง.............

        ซึ่งภาพที่เห็นนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด ชลบุรี  ภาพนี้ได้มาจากตอนที่ไปสัมนา ในรายวิชา สัมนา 1 ของสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา และบังเอิญได้บันทึกภาพนี้ไว้ซึ่งมันมีจุดเชื่อมต่อของสะพาน ที่แม้จะคนละที่ แต่ก็สามารถเชื่อมต่อกันได้ เสมือนโลกสองโลกได้เชื่อมต่อหากัน  ไปมาหาสู่กันกันและกัน....



ภาพที่ 2

                               


ผลงานของ นายวัชเรศวร์ ภูขมัง (ต๋ง) 
มีแนวคิดที่ว่า............ ภาพแห่งความทรงจำ................

                ซึ่งภาพนี้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึงเราชาวศึกษาศาสตร์ทราบเป็นอย่างดีว่ามันคืออะไร เราเรียกมันว่า "วงเวียน"
ที่มีขนาดเล็ก ที่ครั้งนึงมันได้ทำหน้าที่ให้คนในคณะได้กลับรถ ได้ยูเทิร์น ได้อำนวย
ความสะดวกด้านการจราจร แต่วันหนึ่งมันได้พังทลายลง และมันจะกลายเป็นอดีต......

ภาพที่ 3

                                        


ผลงานของ   นางสาวธัญวรัตม์ ไร่สงวน (สไปรท์) และ นายเวโรจน์ เหลืองยวง (เอิร์ธตี้)
มีแนวคิดที่ว่า.........ปล่อยวาง........... (เป็นแนวคิดที่ทางกลุ่มเลือกนำเสนอ)
           
 ด้วยกาลเวลาที่เนิ่นนาน จากเริ่มต้นไปสู่ จุดสิ้นสุด จากที่สมบูรณ์กลายเป็นที่ร่วงโรย  มีเกิดก็ต้องมีตายเป็นของธรรมดา หากมนุษย์นั้นยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความปล่อยวาง มีแต่ความอยาก และความโลภ จะทำให้เกิดความทุกข์

         " หากมีแก้วอยู่ 1 ใบ เป็นแก้วเปล่า ไม่มีสิ่งของอื่นของจากตัวมัน และเราได้ถือมันไว้ เมื่อถือไปไม่ถึงนาที เราก็บอกว่า สบายมาก ไม่เห็นเป็นอะไรเลย พอผ่านไปอีก 10 นาที ก็จะเริ่มรู้สึกว่า แก้วนั้นหนักขึน"  เพราะฉะนั้น ภาพนี้จะสะท้อนให้มนุษย์นั้นปล่อยวาง อะไรที่ถือไว้ก็ควรปล่อยวางลง และเดินทางสายกลาง 




ระยะเวลาดำเนินการ
              ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2559



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น