วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

Project 6 : Video Diptych



Project 6 : 
"Opposing Forces"  A Video Diptych

ขั้นตอนการทำงาน

1.ระดมความคิดกำหนดเป้าหมายของกลุ่ม
2. สำรวจข้อมูลทีสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมาย
3. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
4. ดำเนินงานตามแผนและออกแบบวิดีโอ
5. เขียนสรุปผล และนำเสนอ



กำหนดรายการหัวข้อแต่ละ shot

1.forward or backward
2.up or down 
3.left or right 
4.go or stop 
5.before or after 
6.Different


                                     รูปภาพ1

                                    รูปภาพ2

                                     รูปภาพ3

                                               รูปภาพ4


          " คนเราสามารถมีมุมมองได้ในหลายมิติ
        หรือ หลายมุมมอง ทุกคน ต่างก็มองจากมุมที่มองเห็น                      หรือ มองต่างมุมกัน ความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ 
                ย่อมแตกต่างกันไป การยอมรับความจริง
                         จากการมองที่ต่างมุมกัน 
                 
                   ย่อมเข้าใจถึงมุมที่มองต่างกัน.........."



                 
ระยะเวลาดำเนินการ

            ระหว่างวันที่ 11-21 เมษายน 2559

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

Project 5 : Diptych

Project 5 : Diptych

          ได้รับมอบหมายงานในหัวข้อ To change photograph โดยนำเสนองานผ่านเทคนิค “Diptych” จึงเกิดข้อสงสัยว่า ภาพแบบ Diptych คืออะไร ???????



จึงได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลว่า
        Diptych คือ การนำภาพสองภาพมาเชื่อมต่อกัน ด้วยมุมกล้องแบบต่างๆ มีการซูมเข้า ซูมออก เป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน แต่ละมุมมอง เมื่อมองแล้วให้ทราบได้ว่าภาพสองภาพนั้นเป็นภาพที่สื่อถึงซึ่งกันและกัน หรือให้แนวคิดที่แตกต่างกันได้

ตัวอย่างภาพ
                                        

                                         
              
                                          

                                                         

ขั้นตอนการทำงาน




            แล้วกลุ่มของพวกเราจึงเริ่มหาสถานที่ในการถ่ายภาพ เพื่อให้ตรงกับ Concept ของ Diptych ทันที 

ภาพที่ 1
                           


ผลงานของ   นางสาวฉัตรฑริกา เวชคง (แนนนี่) ผลงานของข้าพเจ้าเอง
มีแนวคิดที่ว่า......จุดเชื่อมต่อที่แตกต่าง.............

        ซึ่งภาพที่เห็นนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด ชลบุรี  ภาพนี้ได้มาจากตอนที่ไปสัมนา ในรายวิชา สัมนา 1 ของสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา และบังเอิญได้บันทึกภาพนี้ไว้ซึ่งมันมีจุดเชื่อมต่อของสะพาน ที่แม้จะคนละที่ แต่ก็สามารถเชื่อมต่อกันได้ เสมือนโลกสองโลกได้เชื่อมต่อหากัน  ไปมาหาสู่กันกันและกัน....



ภาพที่ 2

                               


ผลงานของ นายวัชเรศวร์ ภูขมัง (ต๋ง) 
มีแนวคิดที่ว่า............ ภาพแห่งความทรงจำ................

                ซึ่งภาพนี้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึงเราชาวศึกษาศาสตร์ทราบเป็นอย่างดีว่ามันคืออะไร เราเรียกมันว่า "วงเวียน"
ที่มีขนาดเล็ก ที่ครั้งนึงมันได้ทำหน้าที่ให้คนในคณะได้กลับรถ ได้ยูเทิร์น ได้อำนวย
ความสะดวกด้านการจราจร แต่วันหนึ่งมันได้พังทลายลง และมันจะกลายเป็นอดีต......

ภาพที่ 3

                                        


ผลงานของ   นางสาวธัญวรัตม์ ไร่สงวน (สไปรท์) และ นายเวโรจน์ เหลืองยวง (เอิร์ธตี้)
มีแนวคิดที่ว่า.........ปล่อยวาง........... (เป็นแนวคิดที่ทางกลุ่มเลือกนำเสนอ)
           
 ด้วยกาลเวลาที่เนิ่นนาน จากเริ่มต้นไปสู่ จุดสิ้นสุด จากที่สมบูรณ์กลายเป็นที่ร่วงโรย  มีเกิดก็ต้องมีตายเป็นของธรรมดา หากมนุษย์นั้นยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความปล่อยวาง มีแต่ความอยาก และความโลภ จะทำให้เกิดความทุกข์

         " หากมีแก้วอยู่ 1 ใบ เป็นแก้วเปล่า ไม่มีสิ่งของอื่นของจากตัวมัน และเราได้ถือมันไว้ เมื่อถือไปไม่ถึงนาที เราก็บอกว่า สบายมาก ไม่เห็นเป็นอะไรเลย พอผ่านไปอีก 10 นาที ก็จะเริ่มรู้สึกว่า แก้วนั้นหนักขึน"  เพราะฉะนั้น ภาพนี้จะสะท้อนให้มนุษย์นั้นปล่อยวาง อะไรที่ถือไว้ก็ควรปล่อยวางลง และเดินทางสายกลาง 




ระยะเวลาดำเนินการ
              ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2559



วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

Project 4 : E-book



  เรื่อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
เรื่องการศึกษา
          ก่อนอื่น เราจะมาทำความรู้จักกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่ทุกคนรู้จักว่า E-Book กันคะว่า มันคืออะไร ???

e-bookคืออะไร
       
e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป



ประเภทของ E-book 

 ผู้ผลิตสามารถเลือกสร้าง E-Books ได้ 4 รูปแบบ คือ 
  1. Hyper Text Markup Language (HTML)
  2. Portable Document Format (PDF)
  3. Peanut Markup Language (PML)
  4. Extensive Markup Language (XML)


ก่อนประชุม
      เราจะให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มคิดหัวข้อเพื่อนำหัวข้อนั้นๆ มานำเสนอ และหาหัวข้อที่ดีที่สุดหรือประยุกต์เรื่องต่างๆเข้าด้วยกันโดยสมาชิกในกลุ่มได้เสนอหัวข้อ ดังนี้
      - แบบเรียน เรื่อง ระบบสุริยะ ( Soler System )
      - แบบเรียน เรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
      - พยัญชนะภาษาอังกฤษ
      - คณิตศาสตร์เบื้องต้นเด็กเบื้องต้น


ขั้นตอนการทำงาน


สรุปการประชุม

         ทางกลุ่มเราจึงได้ทำการจัดทำ E-book ขึ้นในหัว ระบบสุริยะ ซึ่งการจัดทำขึ้นในรูปแบบของ E-book นั้น นอกจากจะสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ซึ่งในหัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างมีเนื้อหาที่เยอะและต้องใช้รูปภาพต่างๆเพื่อช่วยในเรื่องความเข้าใจ และ E-book ยังมีรูปแบบที่นำเสนอได้ต่างจากหนังสือทั่วไป โดยมีการเน้นในเรื่องของมัลติมีเดีย ทำให้ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ศึกษาได้ดีกว่าหนังสือทั่วไป
การออกแบบ

                               
หน้าปก

                               

        
                                           ด้านใน
แสดง ffgf copy.jpg
ตัวอย่าง  E-book


ระยะเวลาดำเนินการ

        ระหว่าง วันที่ 14-31 มีนาคม 2559


ออกแบบ : ธัญวรัตม์ , วัชเรศวร์
เนื้อหา : ฉัตรฑริกา , เวโรจน์
เล่ม E-book : ธัญวรัตม์ , วัชเรศวร์

                                แสดง ffgf copy.jpgแสดง ffgf copy.jpg

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

Project 3 : E-Newsletter



เรื่อง E-Newsletter เรื่องการศึกษา

          ก่อนเริ่มประชุม สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ปรึกษาหารือกัน โดยให้ทุกคนหาเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมคนละ 1 เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาพร้อมทั้งเหตุผลเพื่ออธิบาย  โดยมีข้อเสนอในที่ประชุมของสมาชิก ดังนี้

1. สไปร์ทเสนอ เรื่อง สนับสนุนการศึกษาด้านภาษา

                    

              โดยให้เหตุผลว่า : ภาษาอังกฤษของเด็กไทย
ยังน่าเป็นห่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่พึ่งจะได้รับความสนใจเนื่องจากประเทศไทยพึ่งเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงทำให้คนให้ความสนใจในเรื่องภาษาที่สอง




2. ต๋ง เสนอเรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

                 


         โดยให้เหตุผลว่า : ความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนแต่ละคน ปัจจัยทางด้าน ครอบครัว ฐานะ หรือความแตกต่างของแต่ละโรงเรียนที่นักเรียนแต่ละคนศึกษาอยู่
         สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ต่างก็มีส่วนทำให้เด็กแต่ละคนได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


3. แนนนี่ เสนอเรื่อง การสนับสนุนการศึกษาด้านทุนการศึกษา

                     

             โดยให้เหตุผลว่า : ปัญหาเด็กยากจน ไม่มีทุนทรัพย์มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทุนการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทยด้วย


4. เอิธ์ทตี้ เสนอเรื่อง ปัญหาเรื่องติด Social Network 

                   


             โดยให้เหตุผลว่า : เด็กไทยส่วนใหญ่จะใช้งาน Social Network ตั้งแต่ตื่นนอน เข้าห้องน้ำ ระหว่างเดินทาง เข้าไปทำงาน ไม่ว่าจะตอนตื่นนอน เข้าห้องน้ำ เดินทาง ขณะทำงาน หรือแม้กระทั่งก่อนนอน ก็ยังเช็ค Social Network


ขั้นตอนการทำงาน




ร่วมกันออกแบบ  E-Newsletter ให้หลากหลาย







ผลสรุปของกลุ่ม

                

          โดยข้อสรุปของกลุ่มได้เลือก “สนับสนุนการศึกษาด้านภาษา” เนื่องจากสมาชิกทุกคนเห็นพร้อมต้องกันว่า สังคมโลกปัจจุบันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน

        เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร และประกอบอาชีพ ดังนั้นจึงควรปลูกฝังให้เด็กไทยมีความกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ โดยเริ่มจากสถาบันที่ใกล้ตัวเด็กที่สุดคือ สถาบันครอบครัว

       อีกทั้ง หน่วยงานรัฐควรสนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษอย่างเต็มที่ เช่น การจ้างคุณครูผู้สอนจากประเทศเจ้าของภาษาโดยตรง


ระยะเวลาดำเนินการ
        ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 3 มีนาคม 2559

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Project 1 : Poster


เค้าโครงงานการทำโปสเตอร์


                         


หัวข้อโปสเตอร์
       "เวลาของการศึกษา"


ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          อาจารย์ ดร. พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม


ผู้จัดทำ
1.นางสาวฉัตรฑริกา เวชคง    รหัสนักศึกษา 573050203-9
2.นายวัชเรศวร์ ภูขมัง            รหัสนักศึกษา 573050566-3
3.นางสาวธัญวรัตม์ ไร่สงวน   รหัสนักศึกษา 573050665-1
4.นายเวโรจน์ เหลืองยวง        รหัสนักศึกษา 573050670-8 


ที่มาและความสำคัญ
          การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชน เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลงมาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่า เด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อหรือแอพลิเคชั่นทางโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่า ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง
            ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้เนื่องจากเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวและกำลังเป็นที่นิยม สนใจสำหรับคนไทยในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดทำโปสเตอร์นี้ขึ้นมาเพื่อเตือนหรือให้ทุกคนได้มีความตระหนักกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีความสำคัญมากแค่ไหน



วัตถุประสงค์ของโปสเตอร์
1. เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาในการศึกษา
2. เพื่อสะท้อนปัญหาการศึกษา เรื่อง การใช้เวลาของนักเรียน/นักศึกษาในปัจจุบัน
3. เพื่อแสดงถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยในอนาคต

วิธีการดำเนินการ
1. มีการแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกในกลุ่มออกแบบโปสเตอร์ตาม Comcept ของแต่ละคน
2. นำโปสเตอร์ ที่มา และวัตถุประสงค์ของโปสเตอร์มานำเสนอกัน
3. มีการคัดเลือกโปสเตอร์ที่ได้ออกแบบมา
4. นำรูปที่ออกแบบที่ถูกคัดเลือกมาจัดทำใน โปรแกรม lllustrator
5. นำภาพที่ได้ มาเขียนลงในบล็อก
6. นำเสนอผลงาน


การคิดและการเลือกหัวข้อ (ประชุมเลือกหัวข้อ)
         หลังจากที่ได้กำหนดให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มไปคิด Concept และวาดเป็นรูปภาพแล้ว กลุ่มของเราก็ได้นัดกันประชุม เพื่อเลือกหัวข้อ Concept ในวันที่ 15 ก.พ.59 โดยมีบรรยากาศการทำงาน ดังนี


                           

                                    

                       

                        

                             

สรุป Concept ที่ได้ คือของ นายวัชเรศวร์ ภูขมัง

                                             

                                    


           ในภาพจะเห็นเป็นรูปนาฬิกาอยู่ตรงกลาง และรายล้อมด้วยสิ่งต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้าง ได้แก่ สื่อโซเชียล มัลติมีเดียทั้งหลาย ที่วัยรุ่นทั้งนักเรียนและนักศึกษานิยมเล่นกัน แต่จะมีหนังสืออยู่เพียงหนึ่งเล่ม ที่ถูกรายล้อม ด้วยสื่อโซเชียลมันติมีเดียทั้งหลาย

           ซึ่งสื่อให้เห็นถึงว่านักเรียนนักศึกษาสมัยนี้ ให้เวลากับสื่อออนไลน์ต่างๆมากกว่าหนังสือ หรือการศึกษา และมีข้อความที่อยู่ในส่วนบนของภาพ คำว่า Social More Study Less คือ ให้เวลากับโซเชียลมากขึ้น แต่กลับให้เวลากับการเรียนน้อยลง เป็นการเปรียบเทียบคำให้ผู้อ่านได้คิดตาม เนื่องจากผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาเรื่องการใช้เวลาในการศึกษาไทย



          จึงได้ออกแบบโปสเตอร์เพื่อสะท้อนปัญหา 
และได้หัวข้อ    "เวลาของการศึกษา"



ความคิดของฉัน




       ข้าพเจ้าได้ลองวาดภาพตามคอนเสปที่ได้คิดไว้ คือ อนาคตของฉัน ซึ่งจะเสนอเนื้อหาประมาณว่า


        " มีเด็กที่กำลังสับสน ยืนอยู่ตรงกลางถนน ที่มีทางแยก 2 ทาง ถ้าเลี้ยวซ้าย มีเขียนตัวอักษรว่า parent ซึ่งให้ความหมายว่า ทางที่พ่อแม่เลือก หรือต้องการให้เดิน และถ้าเลี้ยวขวา มีเขียนตัวอักษรว่า me ซึ่งให้ความหมายว่า ทางที่เราเลือกที่จะเดินเอง "
ระยะเวลาดำเนินการ
   ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2559 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2559